วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ยักษ์ใหญ่วงการอวกาศ NASA กับภารกิจที่ "อู่ตะเภา"

ผมได้อ่านข่าวจากหลากหลายสื่่อ เกี่ยวกับการที่องค์การอวกาศยักษ์ใหญ่ NASA มาขอใช้สนามบินอู่ตะเภา เพื่อใช้ในการศึกษาชั้นบรรยากาศของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สื่อเหล่านั้นเอาแต่พูดถึงเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ บ้างก็การเมืองภายใน ภารกิจลับ การ"ลองของ" ระหว่างสหรัฐและจีน แต่ยังไม่เห็นสื่อไหนบอกถึงใจความสำคัญของภารกิจ หรือแม้แต่ "ชื่อ" ของภารกิจนี้เลย หลังจากที่ไม่ได้อัพบล้อกนี้มานานมาก ผมรู้สึกว่าถึงเวลากลับมาทำงานอีกครั้ง เพื่อที่ประชาชนจะได้รับฟังข่าวที่มีสาระบ้างซักที


นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสภาพอากาศ และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกว่า 150 คน ได้ร่วมกันวางแผนที่จะศึกษา สภาพอากาศของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ในช่วงฤดูมรสุม เพราะเป็นช่วงเวลาที่มลพิษและสารเคมีในภูมิภาคนี้ถูกผลักดันเข้าไปยังชั้นบรรยากาศมากที่สุด ซึ่งจะส่งผลกระทบถึงสภาพอากาศของโลกด้วย 

ซึ่งเป็นโครงการศึกษาสภาพอากาศที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน และยังเป็นภารกิจศึกษาสภาพอากาศที่มีความซับซ้อนและยุ่งยากเป็นอย่างมาก โดยใช้ชื่อว่า the Southeast Asia Composition, Cloud, Climate Coupling Regional Study หรือ อักษรย่อ SEAC4RS. 

โครงการนี้จะเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพอากาศเพื่อการศึกษาจาก ดาวเทียมของนาซ่า ฝูงบินเพื่อการวิจัย ข้อมูลที่เก็บจากภาคพื้นดินและทะเล และนำทีมโดยนาย ไบรอัน ทูน ( Brian Toon ) ซึ่งเป็นผู้อาวุโสทางด้านการวิจัยสภาพอากาศของนาซ่าและก่อนหน้านี้ได้นำทีมวิจัยเกี่ยวกับ หลุมโอโซนที่ขั้วโลกเหนือมาแล้ว 

"เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะว่ามีประชากรเป็นจำนวนมากอยู่ที่นี้ มีมลภาวะที่มาจากไฟป่า และเมืองขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ไปทั่วบริเวณโดยระบบอุตุนิยมวิทยาอันซับซ้อน ซึ่งเมื่อสารเคมีเหล่านี้ได้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศสตาโตสสเฟียร์แล้วจะส่งผลกระทบทั่วทั้งโลก และมันยังอาจจะส่งผลกระทบถึงลักษณะของฤดูมรสุมอีกด้วย โครงการ SEAC4RS นี้จะทำให้เราเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้มีผลเกี่ยวข้องกันอย่างไรได้มากขึ้น" นายทูน กล่าว


The University of Colorado's Brian Toon, a veteran of NASA airborne campaigns, is leading planning for the Southeast Asia mission. Credit: University of Coloradocredit



อนุภาคเล็กๆในอากาศที่ลอยขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศของโลกจะทำหน้าที่สะท้อนแสงอาทิตย์กลับไปยังอวกาศ ทำให้โลกเย็นลงได้หรือไม่? ก็าซเหล่านั้นที่ถูกปล่อยขั้นไปจะส่งผลต่อสารเคมีในเมฆ และมีผลกระทบอย่างไรต่อปริมาณน้ำฝน และช่วงเวลาของหน้าฝนรึเปล่า นี่เป็นคำถามสำคัญระดับโลกที่SEAC4RS ต้องการหาคำตอบให้ได้จาการศึกษาครั้งนี้


เครื่องบิน ER-2 ของ NASA credit



SEAC4RS จะใช้เครื่องบินเพื่อการวิจัยหลายแบบในการเก็บข้อมูล เช่นเครื่องบินเพดานบินสูง ER-2 ของนาซ่าจะบินขึ้นไปถึงขอบของอวกาศ ในขณะที่ เครื่องG-V ขององค์กรวิทยาศาสตร์แห่งชาติ( อเมริกา) และ DC-8 ของนาซ่า จะเก็บข้อมูลในชั้นบรรยากาศที่ต่ำลงมา เครือยขายของเครื่องตรวจจับที่ได้ถูกติดตั้งภาคพื้นดิน และทะเลจีนใต้ จะให้ข้อมูลชั้นบรรยากาศจากความสูงที่ต่ำลงมาอีก นอกจากนี้ยังจะใช้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจผ่านกลุ่มของดาวเทียม A-train ซึ่งประกอบด้วยดาวเทียมสำรวจสภาพอากาศจากนานาชาติที่ผ่านบริเวณนี้เป็นประจำอยู่แล้ว อีกด้วย

NASA เลือกประเทศไทยให้เป็นที่ตั้งฐานการสำรวจของ SEAC4RS เพราะว่าเครื่องบินจะได้สามารถเก็บตัวอย่างจากพื้นที่เป็นปัจจัยสำคัญของชั้นบรรยากาศในภูมิภาคนี้ได้ถึงสองจุด คือ การไหลเวียนของมรสุมฤดูร้อนทางตะวันตก และการนำพาความร้อนจากทะเลในทิศตะวันตกและทิศใต้ซึ่งสำคัญในการนำพามลภาวะขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ

"นี่จะเป็นโครงการตรวจสภาพอากาศที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่NASA เคยทำมาอย่างแน่นอน" นายทูนกล่าว "เรามีเครื่องบินหลากหลายชนิด และมีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์หลายแขนงเข้ามาเกี่ยวข้อง และเราต้องทำการสำรวจพื้นที่ที่เราไม่เคยบินมาก่อน มันน่าตื้นเจ้นที่จะได้เห็นผู้คนหลากหลายแนวคิดมาร่วมกันแก้ไขปัญหาที่สำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์นี้" นายทูนกล่าว


ไม่มีความคิดเห็น: