คือตอนปี ค.ศ.1930 เนี่ยมันก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอกนะ
เวลาค้นพบดาวอะไรที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เรียกเลยว่ามันเป็นดาวเคราะห์ เพราะมันมีไม่มากไง
เทคโนลียีมันยังไม่สูงเท่าตอนนี้ แค่มองเห็นดาวพลูโตเนี่ยก็เต็มกลืนแล้ว ขนาดมันเล็กแค่ไหนรู้ป่ะ
มันเหมือนกะอยู๋หน้าแยกราชประสงค์แล้วมองหาเม็ดเลือดแดงที่อยู่หน้าสยามดิสค์อ่ะ
(ประมาณ 1 กิโลเมตร) ด้วยเทคโนโลยีสมัยปี 1930 นะเว้ย! เป็นพ.ศ.ก็ 2473 อ่ะ ประเทศไทยพึ่งมีสถานีวิทยุเองนะ(ที่พระราชวังพญาไท)
พลูโตก็เลยเป็น”ดาวเคราะห์” ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะไป ในตอนนั้น พอมาปี 1992 นี่ชีวิตเริ่มลำบากล่ะ
เราดันไปเจอว่าเจ้าดาวพลูโตเนี่ย มันอยู่ในแถบไคเปอร์ ซึ่งมีหินและน้ำแข็งก้อนเล็กก้อนน้อยกระจายอยู่เยอะมาก
ก็เลยเริ่มมีไอเดียว่า เฮ้ย เจ้าดาวพลูโตเนี่ย มันเป็นแค่วัตถุในแถบไคเปอร์นี่ด้วยป่าวว่ะ
แค่มันใหญ่กว่าชาวบ้านแค่นั้นเอง แต่ก็ยังไม่มีใครทำอะไร พอปี 2005 เท่านั้นละครับ! ผมนี้อึ้งเลย! เจอดาวใหม่ครับ เอริส ซึ่งใหญ่กว่าดาวพลูโตซะอีกในขณะที่อยู่ในแถบเดียวกัน
ทีนี้สับสนเลยครับ ว่าเอริสเนี่ย “มันเป็นดาวมั้ย” ในปี 2006
ก็เลยมีการเรียกประชุมนักดาราศาสตร์ทั่วโลกเลยครับ เพื่อมาคุยกันว่าตกลง”ดาวเคราะห์” เนี่ย คืออะไรกันว่ะ? (เหมือนกับเชฟทำอาหาร
ถามว่า “น้ำตาล” คืออะไรกันว่ะ ทำนองนั้นเลย) ปีนั้นเค้าเลยตั้งกฏขึ้นมาสามข้อ
ถ้าอยากเป็นดาวเคราะห์ที่ดี ต้องมีคุณสมบัติครบทั้งสามข้อนี้
- โคจรรอบพระอาทิตย์
- ต้องมีมวลพอที่จะทำให้ตัวเองมีทรงกลม
- ต้องมีพื้นที่วงโคจรเป็นของตัวเอง ไม่มีใครมาซ็อนทับวงโคจร
เจ้าพลูโตมันไม่ผ่านข้อที่สามเนี่ยแหละ
เพราะมันมีน้ำหนักน้อย มีดาวเล็กๆอื่นๆมาซ้อนทับวงโคจรมันเยอะ
คือถ้าเป็นดาวที่มีขนาดพอสมควรเนี่ย ก้อนเล็กก้อนน้อยที่อยู่ในวงโคจรของดาวนั้นจะโดนดูดเข้าหาดวงเคราะห์นั้นแล้วเป็นส่วนเดียวกันไปเลย
หรือไม่ก็โดนเหวี่ยงออกไปไกลๆเลย แต่สำหรับพลูโตมันไม่ใช่ มันมีแรงดึงดูดไม่พอที่จะทำแบบนั้น
งานนี้พลูโตเลยแห้วไป อดเป็นดาวเคราะห์ แต่มันอุตสาห์มีคุณสมบัติตั้งสองข้อไง
เค้ากลัวมันเสียใจ ก็เลยตั้งตำแหน่งใหม่ให้เป็น ดาวเคราะห์ดวงน้อยๆ หรือดาวเคาะแคะ
เอ้ย! ดาวเคราะห์แคระ นั่นเอง แต่ก็มีคนเถียงเยอะนะ สำหรับการจำแนกดาวเคราะห์โดยเงื่อนไขสามข้อนี้
เพราะไม่งั้น ดวงจันทร์ของเรา ก็เป็นดาวเคราะห์ไปด้วยดิ จริงม่ะ (เออจริง) ซึ่งตัวตั้งตัวตีของการไม่เห็นด้วยในครั้งนี้ก็คือ
หัวหน้าโครงการ new
horizon ซึ่งเป็นภารกิจสำรวจดาวพลูโต
ซึ่งตอนนี้กำลังเดินทางใกล้ถึงจุดหมายเข้าไปทุกทีแล้ว (14 July 2015)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น