วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

Shuttle launch Cycle

การปล่อยจรวดนั้นโดยปกติแล้วก็จะปล่อยจากฐานปล่อยที่ไม่เคลื่อนที่แต่บางทีก็อาจมีการพลิกแพลงได้เหมือนกันเช่น ปล่อยจากฐานปล่อยเคลื่อนที่ ในทะเล เช่นเรือรบ หรือเรือดำน้ำ ปล่อยจากเครื่องบินก็มีเช่น สเปซชิบวัน (SpaceShipone) เครื่องบินรบ หรือปล่อยจากบอลลูนก็ได้ แต่ๆๆคราวนี้จะมาพูดถึงการปล่อยจรวดหรือยานอวกาศออกไปสู่วงโคจรโดยฐานปล่อยอยู่กับที่อย่างคร่าวๆนะครับ โดยตัวอย่างที่ยกมาจะอ้างอิงการปล่อยยานอวกาศของนาซ่า เป็นหลักเพราะข้อมูลและภาพประกอบหาง่ายกว่า สังกัดอื่นๆเช่น ของยุโรป รัสเซียเป็นต้น ครับ

การปล่อยจรวดนั้น จะมีส่วนประกอบหลักที่ใช้ในการปล่อยอยู่สามส่วนครับ คือ เซอร์วิสทาวเวอร์ (Service
tower) ฐานปล่อยจรวด (Launchpad) และพระเอกของเรา คือ ยานอวกาศ (Space vehicle)ครับ ยานอวกาศในที่นี้หมายความรวมถึง กระสวยอวกาศ และจรวดแบบต่างๆด้วย บางแหล่งข้อมูลอาจเรียกเป็น launchvehicleก็ได้ครับ



  • จรวดเชื้อเพลิงแข็ง(Solid Rocket Booster, SRBs) สองอัน คิดเป็น80เปอร์เซ็นต์ของกำลังส่งทั้งหมด


  • ถังเชื้อเพลิงภายนอก ที่เป็นสีสนิมใหญ่ๆน่ะครับ ซึ่งจะส่งเชื้อเพลิงเหลว (ไฮโดรเจนเหลว และออกซิเจนเหลว)ให้กับเครื่องยนต์หลักของกระสวยอวกาศทั้งสามอันระหว่างขั้นตอนการปล่อย


  • ตัวกระสวยอวกาศเอง คือเป็นที่ของนักบินอวกาศและสัมภาระรวมถึงอุปรณ์ที่เอาไว้เชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติด้วย(ถ้าจำเป็น)
ทั้งสามส่วนจะถูกประกอบเข้าด้วยกันล่วงหน้าเป็นเดือนใน โรงประกอบพาหนะ(Vehicle Assembly Building, VAB) โดยจรวดเชื้อเพลิงแข็งเป็นส่วนแรก และนำถังเชื้อเพลิงถายนอกมาวางตรงกลาง และสุดท้าย กระสวยอวกาศก็จะโดนหิ้วโดยเครนขนาดยักษ์เข้ามาวางเป็นอันดับสุดท้าย ส่วนประกอบทั้งหมดนี้ประกอบลงบนฐานปล่อยจรวดเคลื่อนที่ (Mobile Launcher Platform, MLP) ในแนวตั้ง ซึ่งเป็นลักษณะท่าทางที่พร้อมในการปล่อยแล้ว ซึ่งไอ้เจ้ารถนี้เองก็คือฐานปล่อยจรวดที่วางอยู่บนล้อตีบตะขาบขนาดยักษ์นั้นเอง


จากนั้นฐานปล่อยจรวดเคลื่อนที่ก็จะค่อยๆขยับไปยัง เซอร์วิสทาวเวอร์ ซึ่งอยู่ห่างจากโรงประกอบออกไป


5-6 กิโลเมตร โดยใช้เวลาเคลื่อนที่ทั้งหมดประมาณ 8ชั่วโมง (!!!) เจ้ารถนี้ก็จะนำฐานปล่อยจรวดไปวางยังเซอร์วิสทาวเวอร์ แล้วก็ถอยออกไปยังระยะปลอดภัย 5กิโลเมตรจากเซอร์วิสทาวเวอร์


เซอร์วิสทาวเวอร์ก็ยังแยกย่อยออกไปอีกเป็นสองส่วน คือส่วนอยู่กับที่ (Fixed Service Structure,FSS) และ


ส่วนที่หมุนได้ (Rotating Service Structure,RSS) เซอร์วิสทาวเวอร์ส่วนที่อยู่กับที่นั้นมีไว้เพื่อที่จะสามารถเข้าถึงกระสวยอวกาศและสามารถหดเก็บกลับเข้าที่ได้เมื่อไม่ใช้ ส่วนที่หมุนได้เป็นส่วนที่สามารถเข้าถึง


ข้างในของกระสวยอวกาศได้ เพราะว่ามีส่วนของห้องควบคุมสภาพแวดล้อม เอาไว้ขนย้ายสัมภาระจากภายนอกเข้ามาได้โดยไม่มีการปนเปื้อน ออกซิเจนเหลว และไฮโดรเจนเหลวที่เป็นเชื้อเพลิงให้แก่ fuel cell ก็ส่งผ่านมาทางเซอร์วิสทาวเวอร์ส่วนที่หมุนได้นี้ด้วย โดยเซอร์วิสทาวเวอร์ส่วนที่หมุนได้นี้หมุนอยู่รอบเซอร์วิสทาวเวอร์ส่วนอยู่กับทีนั้นเองจะสังเกตุได้ว่าการเติมเชื้อเพลิงเหลวนั้นจะเติมก่อนที่จะปล่อยกระสวยอวกาศเท่านั้น ส่วนเจ้าหน้าที่ ที่ไม่มีหน้าที่ตรงส่วนนี้ก็จะต้องอพยพไปยังที่ปลอดภัยด้วย เพื่อความปลอดภัย


หลังจากเช็คความเรียบร้อยของสัมภาระ ระบบควบคุม และการสื่อสารต่างๆเรียบร้อย ทีนี้ก็ถึงขั้นตอนการปล่อยกระสวยอวกาศของเราขึ้นสู่อวกาศแล้วครับ! เนื่องจากเครื่องยนต์ของกระสวยอวกาศนั้นกำเนิดการสั่นและเสียงออกมาเป็นปริมาณมาก จนอาจเป็นอันตรายต่อสัมภาระและตัวกระสวยอวกาศเอง จึงต้องมีระบบลดแรงสั่นสะเทือนเข้ามาช่วย โดยระบบที่ว่านี้ก็คือการใช้น้ำจำนวนมากเข้ามาช่วยลดแรงสั่นสะเทือนขณะที่เครื่องยนต์หลักทำงานข้างๆแท่นปล่อยจะมีแทงค์น้ำขนาด 1.1ล้านลิตรอยู่ น้ำในทั้งนี้จะถูกปล่อยออกมาทั้งหมดภายใน 41วินาทีขณะปล่อยกระสวยอวกาศเท่านั้น! น้ำนี้จะถูกปล่อยออกมาจากทั้งฐานปล่อยและจากเครื่องยนต์หลักเอง ความร้อนจากเครื่องยนต์นี้เองที่ทำให้น้ำระเหย กลายเป็นไอน้ำจำนวนมากขณะทำการปล่อย



5...4...3...2...1...we have lift off.

ไม่มีความคิดเห็น: