วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

Times in day

เวลาในหนึ่งวันมีค่าเท่ากับเท่าไหร่?


ถ้าคุณจะตอบว่า หนึ่งวันก็มีต้อง 24ชมสิ (โง่จริง ถามได้ไงฟ่ะ) คุณก็ตอบผิด ถ้าบางคนเห็นว่ากระทู้นี้จัดอยู่ในหัวข้อดาราศาสตร์จึงวิ่งเข้ามาตอบว่า หนึ่งวันมี  23ชั่วโมง56นาที 4.0905
วินาที คุณก็ผิดอีก เพราะหน่วยของเวลาใน
SI Unit เป็นวินาที ส่วนคนที่ไปคำนวณมาว่า มี
23ชั่วโมง56นาที 4.0905 วินาที มีทั้งหมด
86,164.090530833 วินาที คุณก็ยังผิดอยู่ เพราะว่าเวลาในหนึ่งวันไม่ไม่คงที่น่ะสิ !!!


แน่นอน เวลาในหนึ่งวันที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในชีวิตประจำวันก็คือ 24ชั่วโมง (ถึงแม้ว่าชั่วโมงจะไม่ใช่หน่วย ใน SI unit แต่ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป) ซึ่งมันเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ใช้ ในการกลับมาอยู่ที่เดิมอีกครั้ง กล่าวคือ โคจรครบ360องศารอบโลก นั้นเอง หมายความว่า ตอนเริ่มต้น ดวงอาทิตย์อยู่เหนือหัวเราพอดี อีก 24ชั่วโมงต่อมา มันก็จะอยู่เหนือหัวเราอีกครั้งนั้นเอง เวลาที่เราใช้กันเป็นประจำนี้ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Solar time ซึ่งยึดดวงอาทิตย์เป็นหลักนั้นเอง


แต่โลกก็ไม่ได้หมุนรอบตัวเองอย่างเดียว มันยังโคจรรอบดวงอาทิตย์อีกด้วย ( ถ้าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบนั้นคือหนึ่งปี) หมายความว่า เวลาที่โลกใช้ในการหมุนรอบตัวเอง กับเวลาที่เราเห็นว่าดวงอาทิตย์กลับมาสู่ที่เดิมนั้นไม่เท่ากัน งง? ดูรูปดีกว่าครับ




หมายความว่าเวลาที่เราใช้กันอยู่ทุกวันโดยสังเกตจากดวงอาทิตย์กลับมาอยู่ที่เดิมใช้เวลามากกว่าที่โลกหมุน360องศารอบตัวเอง โดยโลกต้องหมุนประมาณ 360.986 องศา เพื่อให้ดวงอาทิตย์กลับมาอยู่ที่เดิมอีกครั้ง นั้นคือโลกใช้เวลามากขึ้น ประมาณ 4 นาที ในการชดเชยมุม 0.986 องศานั้นทุกๆวัน




นักดาราศาสตร์ (พวกที่ชอบอ่านข่าวซุบซิบดารา เฮ้ย! ไม่ใช่) ที่สนใจจะศึกษาดาวที่อยู่ไกลจากโลกมากๆ
จึงใช้หน่วยของวันขึ้นมาอีกอันนึง เรียกว่า
Sidereal time ซึ่งยึดดวงดาวเป็นหลักนั้นเอง(แทนที่จะใช้ดวงอาทิตย์) เพราะว่าเมื่อครบ Sidereal day แล้วมันหมายความว่า ดวงดาวที่เขาสนใจอยู่นั้นจะกลับมาอยู่ตำแหน่งเดิมพอดี (ขณะที่พระอาทิตย์ไปไหนแล้วก็ไม่รู้ ไม่สนใจ) ซึ่ง Sidereal time นี้มีค่า
23ชั่วโมง56นาที 4.0905 วินาที ตามปฏิทินจูเลียน ปี 2000



อ่าว!
แล้วทำไมผมยังบอกว่าไม่คงที่อีกล่ะ ทั้งๆที่เทียบเวลากับดวงดาวแล้วแท้ๆ
นั้นเป็นเพราะว่า โลกนี้มันไม่กลมครับ ไม่เชื่อก็เอารูปไปดูกันชัดๆเลยดีกว่า


เห็นมั้ย!! ผมบอกแล้วไม่เชื่อว่าโลกมันป่องกลางอยู่


สำหรับคนที่ไม่ได้มีตาทิพย์แล้ว  ย่อมมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าแน่ๆว่าโลกนั้นไม่ได้กลมเพราะว่าความแตกต่างระหว่างรัศมีแนวตั้ง กับรัศมีแนวนอนของโลกนั้น แตกต่างกันเพียง 42.78 กิโลเมตร ซึ่งคิดเป็น 1/300 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก ทำให้มันยากมากที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่าครับซึ่งการที่โลกมีรัศม มากกว่าในแกนแนวนอนนี้เอง ที่ทำให้โลกโดนแรงดึงดูดจากดวงจันทร์ มาทำให้โลกหมุนช้าลง ส่งผลให้เวลาในแต่ล่ะวันมีค่าเพิ่มขึ้น 0.0017 วินาที ต่อ 1000ปี โดยเมื่อ 4600ล้านปีก่อนหนึ่งวันบนโลกมีเวลาประมาณ 6 ชั่วโมง 620ล้านปีก่อน เพิ่มมาเป็น 21.9 ชั่วโมง ซึ่งขณะนี้ข้อมูลล่าสุดที่ผมหาได้ก็คือ หนึ่งวันมีเวลาเท่ากับ 86,164.09890369732 วินาที

ไม่มีความคิดเห็น: