วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

จรวดรัสเซ๊ยเคลื่อนที่เข้าฐานยิง เตรียมพร้อมส่ง เอ็กโซมาร์ส 2016 ขึ้นสู่อวกาศ

จรวดรัสเซ๊ยเคลื่อนที่เข้าฐานยิง เตรียมพร้อมส่ง เอ็กโซมาร์ส 2016 ขึ้นสู่อวกาศ

จรวดโปรตอนของรัสเซียและอุปกรณ์ภารกิจ เอ็กโซมาร์ส 2016 กำลังถูกยกขึ้นสู่แนวตั้ง ที่ฐานปล่อยจรวด ไบโครนัวร์ ประเทศคาซัคสถาน วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2559Credit: B. Bethge/ESA
จรวด โปรตอน เอ็ม จากรัสเซียที่จะนำยานอวกาศเทรสแก๊ซออร์บิทเทอร์ และส่วนลงจอด สเกียพาเรลลี่ จากภารกิจ เอ็กโซมาร์ส 2016 ขึ้นสู่วงโคจรในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ (14 มีนาคม) ได้เคลื่อนที่เข้าสู่ฐานยิงและถูกยกขึ้นในแนวตั้งพร้อมยิงในวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้ ช่างเทคนิคได้เติมเชื้อเพลิงให้กับจรวดส่วนสุดท้ายเรียบร้อยแล้ว

ถ้าทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี จรวดโปรตอนมีกำหนดยิงออกจากฐานปล่อยจรวด ไบโครนัวร์ ประเทศคาซัคสถาน ในวันจันทร์ที่ 14 มีนาคมที่จะถึงนี้ เวลา 16:00 นาฬิกา ตามเวลาประเทศไทยนะครับ ในลิงค์นี้ ExoMars launch live here at Space.com

หลังจากเข้าสู่วงโคจร ยานอวกาศและส่วนลงจอดจะเริ่มต้นการเดินทางในอวกาศห้วงลึกเป็นเวลา 7เดือน และจะเดินทางถึงดาวอังคารในเดือนตุลาคม 2559

Credit : http://www.space.com/32233-exomars-spacecraft-launch-pad-photos.html

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

มาร่วมติดตามการปล่อยจรวดภารกิจเอ็กโซมาร์ส 2016 (Exomars 2016) กันเถอะ


Copyright: ESA/ATG medialab

ภารกิจเอ็กโซมาร์สมีกำหนดทะยานอยู่ดาวอังคารใน วันจันทร์ ที่ 14 มีนาคม เวลา 16:00 นาฬิกา ตามเวลาประเทศไทย และคาดว่าจะได้รับสัญญาณแรกจากยานอวกาศในเวลาประมาณ 04:00 นาฬิกา วันที่ 15 มีนาคม โดยมีช่องทางการติดต่อดังนี้

ยานอวกาศจะถูกขนส่งโดยจรวด โปรตอนเอ็ม จาก ไบโครนัวร์ คอสโมโดรม ประเทศคาซัคสถาน 

Exomars 2016 Meets Proton rocket

เทรสแก็สออร์บิทเทอร์ ได้ถูกประกอบเข้ากับส่วนลงจอดเชียพาเรลลี่และถูกห่อหุ้มโครงสร้างภายนอก (payload fairing) ที่จะป้องกันมันจากอันตรายต่างๆขณะเดินทางออกสู่วงโคจรของโลก ตอนนี้มันได้ถูกประกอบเข้ากับจรวดชั้นบน บรีส-เอ็ม (Upperstage Rocket Breeze-M) ก่อนจะถูกนำไปประกอบเข้ากับจรวดโปรตอนที่จะนำมันขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ในวันที่ 14 มีนาคม 2559 นี้เวลา 16:00

จากภาพ เทรสแก๊สออร์บิทเทอร์ ส่วนทดสอบการลงจอด เชียพาเรลลี่ และส่วนโครงสร้างภายนอก จะอยู่ด้านซ้ายสุด และมีโลโก้ exomars ติดอยู่

http://exploration.esa.int/science-e-media/img/ce/ExoMars2016_Baikonur_team_with_Proton_20160305_46px_625.jpgCopyright: KhSC

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

กล้องสัญชาติสวิสเตรียมพร้อมทะยานอยู่ดาวอังคาร

กล้องสัญชาติสวิสเตรียมพร้อมทะยานอยู่ดาวอังคาร



แรกเริ่มเดิมที ทีมจากเมืองเบิร์น สวิสเซอร์แลนด์ทำงานร่วมกับ นาซ่าในการพัฒนากล้องตัวนี้ แต่ในภายหลัง นาซ่าขอถอนตัวออกจากโปรเจคนี้ แต่แทนที่จะปล่อยให้โครงการนี้ล้มเลิกไป ศาสตราจารย์ นิโคลัส โทมัส จากมหาวิทยาลัยเบิร์น ได้ก้าวเข้ามาเพื่อนำโปรเจคนี้ให้สำเร็จ กล้องถ่ายภาพอวกาศ คาสสิส CaSSIS ย่อมาจาก Colour and Stereo Surface Imaging System หรือ กล้องถ่ายภาพพื้นผิวระบบสีและสามมิติ มันเป็นกล้องความละเอียดสูงที่จะถูกส่งไปถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารอย่างละเอียด  มันจะถูกประกอบเข้ากับ เทรสแก๊สออร์บิทเทอร์ (Trace Gas Orbiter, TGO) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ โปรแกรมเอ็กโซมาร์ส (Exomars) ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) ที่จะทำการศึกษาสภาพแวดล้อมของดาวอังคาร และทำการทดสอบเทคโนโลยีใหม่สำหรับใช้ในภารกิจสำรวจอวกาศในอนาคต  เทรสแก๊สออร์บิทเทอร์จะตรวจสอบและทำการวิเคราะห์ร่องรอยของแก็สอย่างเช่นมีเทน ไอน้ำ หรือไนโตรเจน โดยใช้อุปกรณ์ที่มีความละเอียดสูงกว่าการทดลองครั้งก่อนๆมาก

 เทรสแก๊สออร์บิทเทอร์จะถูกส่งไปยังดาวอังคารโดยจรวดโปรตอนที่องค์การอวกาศรัสเซียเป็นผู้สนับสนุน โปรแกรมเอ็กโซมาร์สเป็นเพียงโปรแกรมแรกในอีกหลายโครงการสำรวจดาวอังคารที่จะตามมา ภายใต้ความร่วมมือระหว่าองค์การอวกาศยุโรป (ESA) และ องค์การอวกาศรัสเซีย (Roscosmos)

Credit : http://nccr-planets.ch/swiss-camera-flies-to-mars/

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

แวะปั้มเติมน้ำมัน ก่อนเดินทางไปดาวอังคาร

แวะปั้มเติมน้ำมัน ก่อนเดินทางไปดาวอังคาร


Copyright: TAS-F/Yannick Le Marchand
เทรสแก๊ซออร์บิทเทอร์ ( Trace Gas Orbiter, TGO)  ยานอวกาศสำรวจชั้นบรรยากาศดาวอังคาร พร้อมกับ เชียพาเรลลี่ ส่วนทดสอบการลงจอดสู่พื้นผิวดาวอังคาร จากภารกิจ Exomars 2016 กำลังถูกเติมเชื้อเพลิง ที่สถานีอวกาศไบโคนัวร์ประเทศ คาซัคสถาน 

ยุคแห่งการสำรวจดาวอังคารขององค์การอวกาศยุโรปกำลังจะเริ่มต้นขึ้นภายในเดือนมีนาคมปีนี้ หลังจากส่ง เทรสแก๊ซออร์บิทเทอร์ ( Trace Gas Orbiter, TGO) และ เชียพาเรลลี่ ขึ้นสู่ห้วงอวกาศและเริ่มต้นการเดินทางนานเจ็ดเดือน สูาดาวเคราะห์สีแดง โดยที่เชียพาเรลลี่จะถูกปล่อยลงไปยังพื้นผิวดาวอังคารเพื่อทดสอบรบการลงจอด  ในขณะที่ตัวยานอวกาศจะเริ่มทำการลดความเร็วในชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

 ในตัวยานอวกาศ TGO มีถังเชื้อเพลิงหนึ่งถัง และตัวเร่งปฏิกิริยาหนึ่งถัง แบ่งเป็น MON (Mixed oxides of nitrogen) 1.5 ตัน และ MMH (Monomethylhydrazine) 1 ตัน โดยทั้งหมดจะถูกใช้ในเครื่องยนต์หลัก และจรวดขับดัน 10 เครื่องยนต์ (และ เครื่องยนต์ขับดันสำรองอีก 10 เครื่อง)

เนื่องจากกระบวนการเติมเชื้อเพลิงเป็นงานที่เสี่ยงอันตรายสูง เจ้าหน้าที่จึงต้องส่วมชุดป้องกัน และใช้แขนหุ่นยนต์ในการช่วยในการเติมเชื้อเพลิง ในขณะที่มีหน่วยแพทย์ และดับเพลิงเตรียมพร้อมรออยู่ข้างนอกแล้ว